วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา


ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา พุทธชินราชพิทยา ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙/๑ ถนนธรรมบูชา ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ ๖๕๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๕๓๐ ๔๑๘๐ - ๓
โทรสาร ๐ ๕๕๓๐ ๔๑๘๑ Website http://school.obec.go.th/puttha
สังกัด สพฐ.
เขตพื้นที่การศึกษา พิษณุโลก เขต ๑
เปิดสอนตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๖
เขตพื้นที่บริการการศึกษา ๑๐ ตำบล คือ ตำบลในเมือง ตำบลอรัญญิก ตำบลหัวรอ ตำบลบึงพระ ตำบลปากโทก ตำบลวัดจันทร์ ตำบลท่าโพธิ์ ตำบลท่าทอง ตำบลมะขามสูง ตำบลสมอแข
ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา
ชื่อ-สกุลผู้บริหาร นายสัมฤทธิ์ ทองรัตน์
วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
ดำรงตำแหน่งในโรงเรียนนี้ตั้งแต่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน
หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๘๖-๔๔๖๙๒๑๓
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ๔ คน
ชื่อ-สกุล นายบุญเรือง สุวรรณประสิทธิ์
วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑-๒๘๑ ๘๙๕๕
ชื่อ-สกุล นายนิธิ พิชากูล
วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙-๔๖๐ ๘๔๓๖
ชื่อ-สกุล นายศรีทน ละม่อม
วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙-๖๔๔ ๑๑๔๐
ชื่อ-สกุล ว่าที่ร้อยตรีสุรเชษฐ์ มุกสุวรรณ
วุฒิการศึกษาสูงสุด การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙-๕๖๕ ๔๗๕๘

ประวัติ คำขวัญ และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ได้รับอนุมัติจัดตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ตามใบอนุญาตเลขที่
๒/๒๕๐๒ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเภท มัธยมศึกษาวิสามัญศึกษาปีที่ ๑ (ป.๕)
ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ป.๗) หยุดเรียนวันธรรมสวนะ (วันพระ) และวันอาทิตย์ ต่อมาหยุดเรียน
วันเสาร์และวันอาทิตย์
การจัดตั้งครั้งแรกอยู่ในความอุปถัมภ์และดูแลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
โดยมีคณะผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน ดังนี้ พระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัด พระราชรัตนมุนี
(แช่ม จันทราโภ) พระธัมมานันทะ พระปลัดพุทธิวัฒน์ ดร.มังกร ทองสุกดี อาจารย์ครองศักดิ์
ขันธเลิศ ครั้งแรกมีครู ๑๓ คน นักเรียน ๑๕๖ คน นายอุดม ผุดเหล็ก เป็นครูใหญ่คนแรก และได้มี
การพัฒนาดำเนินการสอนมาตามลำดับ
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้ดำเนินการขอโอนมาสังกัดกรมสามัญศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เรื่องตั้งโรงเรียนรัฐบาล โดยใช้ชื่อว่า
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
เอกลักษณ์โรงเรียน
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน พระพุทธชินราช
สัญลักษณ์ พระพุทธชินราช
คติพจน์ นต.ถิ ปัญญา สมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
ปรัชญา คนพัฒนาได้ด้วยการศึกษา
อักษรย่อ พ.ช.
สีประจำโรงเรียน เหลือง-แดง
ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นโพธิ์
นามขานเรียก พุทธา
เพลงประจำโรงเรียน มาร์ชพุทธชินราช
คำขวัญศักดิ์ศรีชาวพุทธา (SALOGAN)
เรียนเด่น เรียนดี มีวิทยาทาน
เรียนเด่น เรียนดี มีบริเวณสวย
เรียนเด่น เรียนดี มีดนตรีกาล
เรียนเด่น เรียนดี มีการเล่นกีฬา
เรียนเด่น เรียนดี มีคุณธรรม
เรียนเด่น เรียนดี ศักดิ์ศรีชาวพุทธา
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มารยาทดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์
วิสัยทัศน์ (VISION)
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ (MISION)
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2. ระดมทรัพยากรในชุมชนเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
4. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มนุษยสัมพันธ์ และค่านิยมที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน
5. ส่งเสริมการบริหารจัดให้เอื้อในการพัฒนาบุคลากร
เป้าประสงค์ (GOAL)
ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เป็นบุคลากรแห่งการเรียนรู้ มีวินัย
มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
วัตถุประสงค์ (OBJECTIVE)
เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ มารยาทดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้
มีศักยภาพด้านวิชาการ และวิชาชีพ ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีความเป็นไทย
ข้อมูลแผนยุทธศาสตร์ / ธรรมนูญโรงเรียน
แผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาได้จัดทำแผนดำเนินงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๓ รวมระยะเวลา
๓ ปี ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียน
การกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จัดทำดังนี้
๑. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในโรงเรียน เพื่อพิจารณาโอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงเรียน
๒. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียน โดยการนำผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในโรงเรียนเป็นองค์ประกอบในการกำหนดแผนกลยุทธ์
๓. กำหนดกรอบแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน
๔. จัดทำแผนงบประมาณระยะปานกลาง
แผนประจำปีของสถานศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐานการศึกษา โดยพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ เด็กต้องเก่ง ดี และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข การดำเนินการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำเป็นที่ต้องกำหนด การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ภายใต้การใช้กลยุทธ์การบริหารงบประมาณอย่างมีส่วนร่วม กำหนดโครงการต่างๆ ส่งเสริม และสนับสนุนการบริหารงบประมาณประเภทเงินอุดหนุน รายหัวที่รัฐจัดสรรและเงินระดมทรัพยากรจากการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยาเดิมเป็นโรงเรียนที่โอนมาจากโรงเรียนเอกชนตั้งอยู่ในบริเวณของวัดและอยู่ในความอุปถัมภ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ดังนั้นโรงเรียนพุทธชินราชพิทยามีจุดเน้นในการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมนักเรียนควบคู่ไปกับความรู้ในเชิงวิชาการ แม้ในปัจจุบันได้โอนมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ยังได้ยึดแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนที่เน้นความรู้คู่คุณธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ดังนี้
๑. นิมนต์พระภิกษุจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารมาทำการสอนวิชาพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน
๒. ส่งเสริมผู้เรียนให้ศึกษาธรรมศึกษาโดยเปิดรายวิชาธรรมศึกษาในหลักสูตรโรงเรียน และเป็นสนามสอบธรรมศึกษา ตรี โท เอก มาอย่างต่อเนื่อง
๓. มีโครงการเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยจัดกิจกรรมค่ายคุณธรรมสำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๑ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๘ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันจากการส่งเสริมในการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพลักษณ์ของผู้เรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา เป็นผู้เรียนที่มีความประพฤติเรียบร้อย มีคุณธรรมจริยธรรม ไม่เป็นปัญหาให้กับสังคมจนเป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน และเป็นเหตุผลหนึ่งในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อ จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของเราชาว พ.ช. อย่างแท้จริง